การตรวจ M.R.A Brain เพื่อดูสภาพเส้นเลือดสมอง
ชุดตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหลอดเลือดทั้งร่างกาย (Total Body Vascular)
- โรคหลอดเลือดสมองโป่ง เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ในคนปกติทั่วไปในทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนมากพบในคนอายุ 40-60 ปี เพศหญิงพบมากกว่าเพศชายเล็กน้อย
- โรคหลอดเลือดสมองโป่งมักจะตรวจพบเมื่อมีอาการแตก ซึ่งเมื่อผู้ป่วยเกิดหลอดเลือดสมองโป่งแตกในสมอง (Rupture Aneurysm) จะมีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง คือ 50%, เกิดความพิการ 25% และสามารถหายเป็นปกติแค่ 25% แต่หากตรวจพบหลอดเลือดสมองโป่งก่อนที่จะแตกจะมีอัตราการเสียชีวิตเพียง 2-3%, เกิดความพิการ 7% และกว่า 90% สามารถเป็นปกติ ดังนั้น ถ้าเราสามารถวินิจฉัย โรคหลอดเลือดสมองโป่งที่ยังไม่แตกและรักษาตั้งแต่แรกก็จะได้ผลที่ดีกว่า เพราะจะสามารถลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการลงได้
สาเหตุ
เกิดจากผนังเส้นเลือดแดงเส้นใดเส้นหนึ่งส่วนแขนงอ่อนแรง โดยกลไกการเกิดเชื่อว่า เกิดขึ้นเนื่องจากความผิดปกติแต่กำเนิดของผนังเส้นเลือด หรือ เกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลัง เนื่องจากผนังหลอดเลือดถูกแรงดันกระแทกอยู่ตลอดเวลา เป็นผลให้ผนังผิดปกติ แล้วจึงถูกดันให้โป่งเป็นกระเปาะออกมา ซึ่งหลอดเลือดโป่งในสมองที่เสี ยงต่อการแตก จะขึ้นอยู่กับขนาดและ ตำแหน่งของเส้นเลือดสมองโป่ง , รูปร่างของเส้นเลือดที่โป่ง, อายุและเพศของคนไข้ รวมถึงสุขภาพและประวัติครอบครัวของคนไข้
ปัจจัยเสี่ยง
1. การสบูบหุรี่
2. ความดันโลหิตสูง
3. การดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมากเป็นประจำ
4. มีระดับไขมัน ในเลือดสูง
5. การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นประจำ
อาการเตือน
- โดยทั่วไป จะไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติก่อนแตก
- ในรายที่มีอาการโดยส่วนใหญ่ จะมีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดศีรษะมากอย่างที่ไม่เคยรู้สึกมาก่อนหรือเหมือนหัวจะระเบิด บางรายจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วย
- หนังตาตก มองเห็น ภาพซ้อน หรือตาเหล่กะทันหันและจักษุแ พทย์สาเหตุไม่พบ
การป้องกัน
ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาเส้นเลือดสมองโป่ง ก่อนที่จะมีอาการแตก โดยกรณีที่ควรตรวจหาอย่างยิ่ง คือ
- เมื่อมีญาติสนิทระดับที่1 (บิดา มารดา พีน้อง หรือบุตร) ที่มีเส้นเลือดในสมองแตก 1 คน และมีญาติสนิทระดับที่1 หรือ ระดับที่2 (ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือหลาน) มีเส้นเลือดในสมองแตกอีก 1 คน
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคถุงนำ ในไต
- ผู้ที่เคยมีเส้นเลือดในสมองแตก และได้รับการรักษาแล้ว
- ผู้ที่มีอายุ 40-60 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ชุดตรวจคัดกรองความเสี่ยงทางหลอดเลือดทั้งร่างกายอื่นๆ (Total Body Vascular)
ชุดที่ 1 การตรวจ ABI เพื่อดูสภาพเส้นเลือดที่ขา
ชุดที่ 2 การตรวจ Carotid เพื่อดูเส้นเลือดแดงใหญ่ที่คอที่ไปเลี้ยงสมอง
ชุดที่ 3 การตรวจ Aneurysm Screening เพื่อดูเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองบริเวณหน้าอกและช่องท้อง
Total Body Vascular 4โรค