การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูนและการดามขดลวด
การขยายหลอดเลือดด้วยการสวนหัวใจ และบอลลูนหัวใจ (Balloon Angioplasty)
ป็นวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจซึ่งได้รับความนิยม เพราะไม่ต้องผ่าตัดและมีความปลอดภัย แพทย์จะสอด
สายสวนหัวใจ (Guiding Catheter) ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดจิ๋วอยู่ตรง ปลายเข้าไปทางหลอดเลือดที่ขาหรือแขน เมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย เพื่อดันให้บอลลูนขยายออก เบียดคราบไขมันหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ดีอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงทำให้บอลลูนแฟบเหมือนเดิม แล้วดึงสายสวนหัวใจออกจากร่างกาย
ในกรณีที่แพทย์เห็นว่ารอยตีบยังขยายได้ไม่กว้างพอ ก็จะใส่ขดลวดเล็กๆ (stent) เข้าไปยึดติดกับผนังหลอดเลือด ในบางกรณีอาจมีการนำขดลวดที่เคลือบด้วยยามาใช้ แทนขดลวดธรรมดา ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายหลอดเลือดแล้ว ยังเพิ่มความปลอดภัย และลดปัญหาเรื่องการกลับมาตีบซํ้าอีกได้ด้วย แต่ขดลวดดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูง จึงขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์และผู้ป่วย
ข้อดีของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด
- โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนตํ่ากว่าการผ่าตัดบายพาส เพราะไม่ต้องทำการผ่าตัดและดมยาสลบ
- ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น (1-2 วัน) และกลับไปสู่ชีวิตปกติได้เร็วกว่า
- สามารถทำซ้ำได้หลายครั้ง ในกรณีที่หลอดเลือดตีบแคบลงอีกในอนาคต
ข้อจำกัดของการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด
- ลักษณะการตีบบางอย่างไม่เอื้อต่อการทำบอลลูน
- มีโอกาสกลับมาตีบซํ้าได้อีกตรงบริเวณเดิม เนื่องจากกระบวนการ "สมานแผล" ตามธรรมชาติของร่างกาย