การทำหัตถการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด (Interventional Cardiology)
หัตถการโรคหัวใจเป็นการรักษาโรคหัวใจด้วยการสอดใส่เครื่องมือสวนหัวใจเข้าไปในร่างกายผ่านหลอดเลือดที่นำไปสู่หลอดเลือดหัวใจ ข้อดีของการรักษาด้วยวิธีหัตถการหัวใจ คือเพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดและระยะเวลาพักฟื้นที่ยาวนานจากการผ่าตัด โดยการทำหัตถการหัวใจนี้สามารถเบียดคราบไขมันหินปูนที่เกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือดให้ยุบแบนลงได้
โดยแพทย์หัตถกรโรคหัวใจทำการรักษาโรคหัวใจด้วยวิธีหัตการดังนี้:
- การขยายหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด (PCI)
ทำได้โดย
สอดสายสวนหัวใจเข้าไปทางหลอดเลือดที่แขนหรือขา และเมื่อถึงบริเวณที่หลอดเลือดตีบจึงต่อสายบอลลูนเข้ากับเครื่องมือเพื่อดันบอลลูนให้ขยายออกและขยายหลอดเลือดให้กว้างออก และในบางกรณีอาจมีการใส่ขดลวดเล็กๆ เข้าไปยึดติดกับผนังหลอดเลือดเพื่อลดปัญหาการกลับมาตีบซ้ำของหลอดเลือด โดยอาจใช้อุปกรณ์ร่วมด้วยดังนี้
- Fractional Flow Reserve: FFR -การวัดความดันที่แตกต่างในหลอดเลือดหัวใจ
- Rotablator การกรอหินปูนในหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่อง Rotablator
- IVUS-Intravascular Ultrasound การตรวจดูโครงสร้างหลอดเลือดหัวใจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ภาพที่ได้จะแสดงการอุดตันในหลอดเลือดและโครงสร้างของผนังหลอดเลือดเพื่อการขยายหลอดเลือดตีบตันอย่างแม่นยำ
- การขยายลิ้นหัวใจด้วยบอลลูน เป็นเทคนิคในการขยายหลอดเลือดหัวใจตีบโดยไม่ต้องทำการผ่าตัดเปลี่ยนหรือซ่อมแซมลิ้นหัวใจ
- การรักษาโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด
- การอุดรอยรั่วระหว่างผนังกั้นห้องหัวใจด้านบน ASD Closure
- การอุดรอยรั่วเส้นเลือดแดงที่เกินผิดปกติระหว่างปอดและหัวใจ
- การรักษาโรคหลอดเลือดส่วนปลายตีบตัน
- การตรวจโดยการสวนหลอดเลือดและการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด สำหรับหลอดเลือดแดงที่ไม่ใช่หลอดเลือดหัวใจ