หนึ่งในปัญหาหัวใจที่พบได้ในผู้สูงอายุจากความเสื่อมตามวัย คือ ความผิดปกติของลิ้นหัวใจเอออร์ติก โดยเฉลี่ยประมาณ 3% ของผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 75 ปี จะเริ่มมีลิ้นหัวใจผิดปกติทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นลิ้นหัวใจจะเริ่มแข็งตัว มีหินปูนเกาะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้นในการสูบฉีดเลือด ผนังหัวใจหนาตัว และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้ ดังนั้นเทคนิค TAVI (Transcatheter Aortic Valve Implanation) เทคนิคสายสวนแผลเล็กเพื่อซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจจึงเข้ามาช่วยลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดและช่วยให้กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง
สังเกตอาการลิ้นหัวใจผิดปกติ
รู้จักเทคนิค TAVI
เทคนิค TAVI (Transcatheter Aortic Valve Implanation) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า TAVR (Transcatheter Aortic Valve Replacement) เป็นการเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยสายสวนแบบไม่ต้องผ่าตัด เหมาะกับคนไข้ที่มีปัญหาลิ้นหัวใจเอออร์ติก (Aortic Valve) คือ มีลิ้นหัวใจกั้นระหว่างหัวใจช่องล่างซ้ายกับหลอดเลือดแดงใหญ่ โดยหลักการของ TAVI เป็นการใช้ลิ้นหัวใจแบบเนื้อเยื่อยึดติดอยู่กับขดลวดพิเศษ ซึ่งสามารถม้วนให้เข้าไปอยู่ในท่อเล็กประมาณ 5 - 8 มิลลิเมตรของระบบนำส่ง จากนั้นสอดลวดนำทางส่งไปตามหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบไปยังยอดของหัวใจห้องล่างซ้ายจนถึงตำแหน่งของลิ้นหัวใจเอออร์ติก แล้วตามด้วยระบบนำส่งลิ้นหัวใจ จากนั้นจึงปล่อยลิ้นหัวใจที่ม้วนอยู่ออกมาที่ระบบนำส่ง ลิ้นหัวใจจะกางออกกลายเป็นลิ้นหัวใจใหม่ โดยผู้ป่วยจะมีแผลเล็กๆ บริเวณขาหนีบ หรือบริเวณหน้าอกด้านซ้ายหรือด้านบนของหน้าอกด้านขวา ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่สอดลิ้นหัวใจเข้าเป็นสำคัญ
ตำแหน่งสอดลิ้นหัวใจเข้า
ข้อดีของ TAVI
ข้อจำกัดของ TAVI
หลังผ่าตัด TAVI