โรคหัวใจเป็นหนึ่งในโรคที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง การระวังป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจขึ้นกับตัวเอง หลายคนคงทราบดีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายบ้างและตรวจเช็กสุขภาพหัวใจเป็นประจำ ฯลฯ
แต่ทราบหรือไม่ว่านอกจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ แล้ว ‘ลิ้นหัวใจรั่ว’ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ ซึ่งเจ้าลิ้นหัวใจนี่แหละเกี่ยวข้องกับหัวใจของเราโดยตรงเลย ถ้าหากเกิดรั่วหรือทำงานผิดปกติขึ้นมาหัวใจของเราก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่หรืออาจจะถึงขนาดหัวใจวายได้เลยทีเดียว
ลิ้นหัวใจทำงานอย่างไร?
ลิ้นหัวใจ เป็นเนื้อเยื่อที่กั้นห้องของหัวใจทั้ง 4 ห้องของเรา ทำหน้าที่หลักคือกั้นให้เลือดไหลไปในทิศทางที่ถูกต้อง ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดเป็นปกติ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะหากเลือดหยุดไหลเวียนเมื่อไหร่จะทำให้เสียชีวิตได้
โรคลิ้นหัวใจรั่วอาการเป็นอย่างไร?
จะมีอาการหอบ เหนื่อย ไม่มีแรง หน้ามืดเป็นลมบ่อยๆ อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ เนื่องจากหลอดเลือดและลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพ กรอบ แข็ง ความยืดหยุ่นน้อยและมีไขมัน หินปูนเกาะ ทำให้ลิ้นหัวใจเปิด-ปิดไม่สนิท
ลิ้นที่มีปัญหาส่วนใหญ่ คือ Mitral Valve/ Aortic Valve (หัวใจฝั่งซ้าย) เพราะฝั่งซ้ายทำหน้าที่ปั๊มเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ความดันจึงสูงกว่า พอบีบตัวแรง เลือดก็พุ่งแรงทำให้ลิ้นหัวใจเกิดความเสียหายมาก ส่วนใหญ่เรามักพบโรคลิ้นหัวใจรั่วในผู้สูงอายุ มีบ้างที่พบในเด็ก
โรคที่เกิดจากลิ้นหัวใจมี 3 ประเภท คือ
การรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่ว ทำได้อย่างไร?
ปัจจุบันการรักษาได้พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่เปิดหน้าอก ทั้งยังเพิ่มความแม่นยำปลอดภัย และการที่ผ่าตัดแผลเล็กจึงทำให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น ความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนก็น้อยลง
การรักษามี 2 วิธี คือ
สิ่งที่ควรพิจารณาสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจคือ ถ้าเปลี่ยนด้วยเนื้อเยื่อ จะมีอายุการใช้งาน 10 – 15 ปี หลังจากนั้นอาจต้องพิจารณาผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจอีกครั้ง ในขณะที่เปลี่ยนลิ้นหัวใจที่เป็นโลหะ ต้องทานยาป้องกันการแข็งไปตลอดชีวิต ซึ่งมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในสมองได้สูง เช่น มีเลือดออกในสมอง ซึ่งจะเป็นได้มากขึ้นตามระยะเวลาที่ผ่านไป
ผลการผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจส่วนใหญ่ทำให้คนไข้อาการดีขึ้น เหนื่อยน้อยลงและผลระยะยาวจะดีกว่าการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เนื่องจากไม่ต้องกังวลกับภาวะแทรกซ้อนจากการกินยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
สิ่งสำคัญในการรักษาไม่ว่าจะเป็นการซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจก็คือ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญของแพทย์ เพื่อให้คนไข้ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษา และมีเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยได้มาตรฐาน มีเครือข่ายโรงพยาบาลครอบคลุมทั่วประเทศ สามารถให้คำปรึกษา หรือแม้กระทั่งทำการผ่าตัดให้ได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการฝึกอบรมให้ความรู้แก่แพทย์ด้วยกันอีกด้วย ถือได้ว่าเป็นการให้บริการด้านโรคหัวใจในทุกด้าน